
นิวคลีโอไทด์ (Nucleotide) คือ หน่วยย่อยของดีเอ็นเอ(DNA)และอาร์เอ็นเอ(RNA) นิวคลีโอไทด์ (Nucleotide) ประกอบไปด้วย
- นิวคลีโอไซด์ (Nucleoside)
- หมู่ฟอสเฟต
นิวคลีโอไทด์ (Nucleotide)ประกอบ ไปด้วย 2 องค์ประกอบหลัก คือ
– ไนโตรจีนัสเบส (Nitrogenous Base)
มักจะถูกเรียกสั้นๆว่า เบส เป็นเบสที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ ไนโตรจีนัสเบส (Nitrogenous Base) มี 2 ประเภท คือ
1. พิวรีน(Purines) ได้แก่ อะดีนีน (A), กวานีน (G)
2.ไพริมีดีน(Pyrimidines) ได้แก่ ไซโตซีน (C), ไทมีน (T) ซึ่งพบในดีเอ็นเอ(DNA) และยูราซิล (U) ซึ่งพบในอาร์เอ็นเอ(RNA) แทนเบสไทมีน (T)
เบสเหล่านี้ทำให้ดีเอ็นเอ(DNA) หรือ อาร์เอ็นเอ(RNA) มีคุณสมบัติในการดูดกลืนแสงอัลตราไวโอเลต(UV)ได้ที่ความยาวคลื่น 260-280 นาโนเมตร(nm)
– น้ำตาลเพนโทส(Pentose Sugar)
(น้ำตาลที่มีคาร์บอน 5 อะตอม) มี 2 ชนิดคือ
1.น้ำตาลไรโบส(Ribose Sugar)ซึ่งพบในอาร์เอ็นเอ(RNA)
2.น้ำตาลดีออกซีไรโบส(Deoxyribose Sugar)ซึ่งพบในดีเอ็นเอ(DNA)
ในการรวมตัวของนิวคลีโอไซด์(Nucleoside) กับหมู่ฟอสเฟตให้เป็นนิวคลีโอไทด์(Nucleotide) เบสจะต่อกับคาร์บอนตัวที่ 1 ของน้ำตาลเพนโทส(Pentose Sugar) และฟอสเฟตต่อกับคาร์บอนตัวที่ 5 ของน้ำตาลเพนโทส(Pentose Sugar) เมื่อนิวคลีโอไทด์(Nucleotide)มาต่อรวมกันหลายๆโมเลกุลจะเรียกว่า โพลีนิวคลีโอไทด์ (Polynucleotide)